กสอ. เผยอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย

ข่าวเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559

สรุปคำกล่าวของ นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

  • เครื่องสำอางไทยมีมูลค่าตลาดรวม 2.1 แสนล้านบาท ในปี 2558 แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 60% (1.2 แสนล้านบาท) และตลาดส่งออก 40% (9 หมื่นล้านบาท)
  • มูลค่าตลาดเครื่องสำอางไทยถือเป็นอันดับที่ 1 ในภูมิภาคอาเซียน
  • มูลค่าตลาดเครื่องสำอางไทยเป็นอันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเชีย โดยยังเป็นรองแค่ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
  • ในปี 2559 มีจำนวนผู้ประกอบการเป็นผู้ผลิตเครื่องสำอางที่จดทะเบียนทั่วประเทศ 1,781 ราย แบ่งเป็นบริษัทจํากัด 1,572 ราย ห้างหุ้นส่วนจํากัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 206 ราย และบริษัทมหาชน 3 ราย
  • สัดส่วนการขยายตัวในการส่งออกต่อเนื่องในกลุ่มอาเซียน โดยแนวโน้มมีการเติบโตขึ้นทุกปี การส่งออกต่อเนื่องในกลุ่มอาเซียนมีแนวโน้มเติบโตขึ้นทุกปี
  • กสอ. จัด “Thailand Cosmetic Contest 2016” เพื่อกระตุ้นให้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาสินค้า

สรุปคำกล่าวของ นายสมประสงค์ พยัคฆพันธ์ ประธานคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย

  • ภาพรวมเครื่องสำอางไทยมีคุณภาพและมาตรฐานที่ดี
  • เครื่องสำอางไทยมีความได้เปรียบในเรื่องคุณค่าจากวัตถุดิบ
  • เครื่องสำอางไทยยังเสียเปรียบในเรื่องของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าที่ยังขาดความเป็นสากล รวมทั้งนวัตกรรมในการผลิตที่จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ

สรุปคำกล่าวของ นางลักษณ์สุภา ประภาวัต กรรมการผู้จัดการบริษัท อมาโทส จำกัด และอุปนายกสมาคมนักเคมีเครื่องสำอางแห่งประเทศไทย

  • เครื่องสำอางไทยมีเอกลักษณ์ตรงการใช้ภูมิปัญญาแบบไทยกับการผสมผสานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • ตลาดต่างประเทศมีความชื่นชอบในผลิตภัณฑ์ที่ดัดแปลงจากสมุนไพรไทย โดยเฉพาะประเทศนอร์เวย์ และประเทศจีน

ความเห็นส่วนตัว Admin

  1. เครื่องสำอางในตลาดต่างประเทศยังเติบโตได้ดี
  2. ประเทศไทยและทรัพยากรของไทยทั้งในแง่วัตถุดิบและบุคคล รวมถึงเทคนิคและนวัตกรรมต่างๆ มีศักยภาพที่สามารถสร้างให้เครื่องสำอางไทยเป็นเครื่องสำอางระดับโลกได้ ในส่วนของวัตถุดิบเราได้เปรียบญี่ปุ่นและเกาหลีมาก ส่วนเทคนิคและนวัตกรรมต่างๆ ถ้าจะวัดจริงๆก็ไม่แพ้ญี่ปุ่นกับเกาหลี (แบรนด์ท็อปๆของไทยยังเหนือกว่าแบรนด์ล่างๆถึงกลางๆของญี่ปุ่นและเกาหลีมาก) แต่ปัญหาอยู่ที่ตลาดในประเทศ เพราะคนไทยจะเชื่อถือแบรนด์ญี่ปุ่นและเกาหลีมากกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ประกอบการของไทยเองบางส่วนละเลยคุณภาพและความปลอดภัย ประหยัดต้นทุนแล้วเอากำไรเกินควร เน้นเห็นผลไวโดยไม่สนว่าจะใส่สารอันตราย สร้างภาพลักษณ์ให้สวยหรูแต่พอใช้ไปจริงๆแล้วมีปัญหา ทำให้แบรนด์ไทยดีๆ หลายๆ แบรนด์ต้องเสียภาพลักษณ์โดยรวมไปด้วย ถือว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายมากๆ ครับ
  3. แม้จะมีความพร้อมทั้งในแง่ของวัตถุดิบและทรัพยากรบุคคล แต่ผู้ประกอบการของไทยก็ยังไม่ค่อยสนใจเรื่องการวิจัยและพัฒนา เป็นกันทุกวงการไม่เว้นแม้แต่เครื่องสำอางครับ การวิจัยและพัฒนาของไทยจะเกิดที่มหาวิทยาลัย แล้วก็อยู่บนหิ้งในมหาวิทยาลัยนั่นแหละ ไม่ได้เอาไปใช้จริงสักที (สาเหตุเกิดจากผู้ประกอบการกับนักวิจัยพูดกันคนละภาษาครับ นักวิจัยมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ แต่ผู้ประกอบการมองหาอะไรที่ง่ายและใช้ได้จริง ทำให้งานวิจัยส่วนใหญ่ทำเสร็จแล้วก็อยู่บนหิ้ง เป็นเรื่องน่าเสียดายมากๆ ครับ)

natural-cosmetic

เพิ่มเพื่อน
Share this: