วันนี้ Jaslyn มีสถิติน่าสนใจ มาเล่าให้ฟังค่ะ
มีข้อมูลงานวิจัยบอกว่า คนที่ชอบรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์และไขมันมาก จะมีการถ่ายอุจจาระแค่ 1-2 ขีดเท่านั้น และอาหารเหล่านี้ใช้เวลาอยู่ในทางเดินอาหารตั้งแต่เริ่มเข้าปากจนออกมาเป็นอุจจาระ ใช้เวลา 2-3 วันเลยค่ะ
และยิ่งในผู้สูงอายุ การทำงานของระบบทางเดินอาหารจะมีประสิทธิภาพลดลง ก็ยิ่งใช้เวลานานขึ้นไปอีก บางคนอาจจะใช้เวลานานถึง 7 วันเลย
แต่ในคนที่ชอบรับประทานอาหารพวกกากใย ผัก ผลไม้ พบว่า จะถ่ายอุจจาระ 6-8 ขีด (ปริมาณมากกว่าคนชอบกินเนื้อสัตว์ 3-4 เท่าตัวเลย) และอาหารใช้เวลาในทางเดินอาหาร แค่ 20-30 ชั่วโมง
การที่อาหารค้างอยู่ในลำไส้นานๆนั้นส่งผลเสียมากกว่าผลดีค่ะ
เมื่ออาหารค้างอยู่ในลำไส้นานๆ จะส่งผลให้มีอาการดังต่อไปนี้
- เรอเหม็นเปรี้ยว
- ท้องอืดแน่นท้อง
- มีแก๊ส หรือลมในท้อง
- มีอาการท้องผูก บางคนก็มีอาการแปรปรวนของลำไส้ ท้องผูกสลับท้องเสีย
- ปวดหัว นอนไม่หลับ
- เกิดอาการผื่นคัน
ใครมีอาการตามนี้ ต้องเพิ่มปริมาณผัก และผลไม้ ในมื้ออาหารให้มากขึ้นแล้วนะคะ
กากอาหารจะถูกเก็บกักไว้บริเวณลำไส้ใหญ่ ที่บริเวณนี้จะเกิดการดูดซึมน้ำและเกลือแร่กลับเข้าสู่ร่างกายอยู่ ทำให้อุจจาระยิ่งอยู่นานก็จะยิ่งแข็งและเหนียว ซึ่งก็จะทำให้เกิดการเคลื่อนตัวเพื่อขับออกยาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองลำไส้ ส่งผลให้เกิดลำไส้อักเสบ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ และนอกจากนี้ยังอาจครูดบริเวณทวารหนัก แล้วทำให้เกิดริดสีดวงได้อีกด้วยค่ะ
อีกหนึ่งตัวช่วยที่จะสามารถปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหารได้ คือ อาหารกลุ่มโพรไบโอติก และพรีไบโอติกส์ค่ะ
ขอเล่าก่อนว่า ในทางเดินอาหารของเราจะมีแบคทีเรียอยู่ 2 ประเภท
- แบคทีเรียก่อโรค หรือ ไม่ดีต่อร่างกาย
- แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เจ้าพวกแบคทีเรียเหล่านี้ เราเรียกว่า “โพรไบโอติก” ค่ะ
โพรไบโอติก (Probiotic) จะทำหน้าที่ในการปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ควบคุมจำนวนของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร ช่วยในการหมักและย่อยใยอาหาร สังเคราะห์วิตามิน ได้แก่ แลคโตบาซิลลัส, บิฟิโดแบคทีเรีย
ซึ่งหากเพื่อนๆต้องการเพิ่มปริมาณแบคทีเรียที่ดีต่อร่างกาย ก็สามารถเติมแบคทีเรียเหล่านี้ได้ง่ายๆ ด้วยการรับประทานอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต ค่ะ
พรีไบโอติก (Prebiotic) คือ อาหารกลุ่มเส้นใยซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของโพรไบโอติกส์ เช่น โอลิโกฟรุกโตส, กาแล็กโทโอลิโกแซ็กคาไรด์ เป็นต้น
เคล็ดลับการดูแลสำไส้ใหญ่
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน เพื่อลดการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ของเราจะได้ทำงานง่ายขึ้น
- เลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เพิ่มเส้นใยในมื้ออาหารด้วยผัก และผลไม้
- ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
- เพิ่มการรับประทาน โยเกิร์ต และนมเปรี้ยว
- หมั่นดูแลใส่ใจเรื่องระบบขับถ่าย ฝึกการถ่ายอุจจาระเป็นประจำทุกวัน และคอยสังเกตลักษณะอุจจาระ จะต้องมีสีปกติ ไม่มีเลือดปน ไม่มีลักษณะกะปริดกะปรอย ไม่แข็งเกินไป ไม่จับตัวเป็นก้อนเล็กๆ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการเคลื่นไหวของลำไส้ได้ ช่วยทำให้ลำไส้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
อ้างอิง :
- Colon Therapy สมดุลเคมีในร่างกายกับการกำจัดของเสีย. Complementary Alternative Medicine.Oct 2004
- งานวิจัยเรื่อง Dietary modulation of the human colonic microbiota: Introducing the concept of prebiotics โดย Gibson, Glenn R; Roberfroid, Marcel B. The Journal of Nutrition 125.6 (Jun 1995): 1401-12.
- งานวิจัยเรื่อง Probiotics, prebiotics, and synbiotics—approaching a definition โดย Jürgen Schrezenmeir and Michael de Vrese Am J Clin Nutr 2001;73 (suppl) :361S–4S. American Society for Clinical Nutrition
![เพิ่มเพื่อน](https://sp-ao.shortpixel.ai/client/to_auto,q_glossy,ret_img,h_34/http://www.jaslynsense.com/wp-content/uploads/2016/12/line-1-e1480880006958.jpg)
Share this: